แปลโดย:
|
Links to words that begin with:
คำสำคัญในหลักสูตร "การจัดระเบียบชุมชน"
Translated by Parima Rucksapoldej
ประชาธิปไตย
คำว่า "ประชาธิปไตย หรือ democracy (เดโมเกรซี) " มาจากภาษากรีก ซึ่งประกอบด้วยคำว่า " demo (เดโม) หรือ ประชา" ซึ่งมาจากคำว่า ประชาชน และ คำว่า "cracy (เกรซี) หรือ อธิปไตย " ซึ่งแปลว่าอำนาจ
คำว่าประชาธิปไตยจึงมีความหมายว่าอำนาจของประชาชน ซึ่งก็เป็นเรื่องน่าขันเพราะว่าชาวกรีกเองก็ไม่ได้มีความเป็นประชาธิปไตยมากนักเนื่องจากการทำการค้าในสมัยนั้นมีการใช้แรงงานทาสเป็นหลัก
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายลักษณะ ตัวอย่างเช่น ระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน้แทนเป็นระบอบการเมืองที่ให้ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารและตัดสินใจแทนตน (เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) เข้าไปบริหารและตัดสินใจแทนตน และ ประชาธิปไตยแบบทางตรงซึ่งประชาชนจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยตรง
ในฐานะนักขับเคลื่อนชุมชน เรามีหน้าที่ที่จะต้องส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยวกัประชาธิปไตย อย่างเช่น ในเวลาที่เราไปทำโครงการสำหรับชุมชน แต่ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปเลียนแบบระบบรัฐสภาของประเทศอังกฤษ เราต้องดูว่าอะไรที่เหมาะสมกับสังคมของเรา
ความต้องการพึ่งพิง (กลุ่มอาการ)
อาการต้องการพึ่งพิง คือ ทัศนะคติและความเชื่อของกลุ่มคนซึ่งไม่สามารถที่จะแก้ปัญหาของตนเองได้โดยปราศจากความช่วยเหลือจากบุคคลภายนอก
เป็นอาการซึ่งจะโดนทำให้อ่อนแอมากยิ่งขึ้นด้วยการบริจาค. อ่านเพิ่มเติม:
อาการต้องการพึ่งพิง. ในหลังสูตรของการออกแบบโครงการ.
การลงมือทำ
ในบรรดาวิธีในการเรียนรู้ทั้งหลาย (การอ่าน, การฟัง, การดู), วิธีที่ได้ผลดีที่สุดคือ "การลงมือทำ" อ่านเพิ่มเติม
ขั้นตอนในการฝึกฝน.
วิธีของการเรียนรู้โดยการลงมือทำนั้นรวมถึง การฝึกฝนการลงมือทำงานทางตรง เช่น การลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายภายใต้การดูแลของผู้ฝึก, หรือการฝึกฝนการลงมือทำงานทางอ้อม เช่น เข้าร่วมในการฝึกแบบสมมุติบทบาท หรือ การฝึกแบบจำลองเหตุการณ์.
การเฝ้าดู
การเฝ้าดู คือ การสังเกตุการณ์ทั่ว ๆ ไปในโครงการหรือกิจกรรมที่คล้ายคลึงกัน มีการทำการบันทึก การวิเคราะห์ และการทำรายงานเกี่ยวกับกิจกรรม และผลของกิจกรรม (อ่านเพิ่มเติม
การเฝ้าดู).
การวิเคราะห์ หรือ การประเมินผลแบบมีส่วนร่วม
ก่อนที่เราจะวางแผนการในการทำโครงการ เราควรจะทำการประเมินสถานะการณ์เสียก่อน. อ่านเพิ่มเติม
PAR หรือ PRA
เพื่อที่จะทำให้โครงการมีลักษณะของ "
การเน้นชุมชนเป็นหลัก", สมาชิกขอชุมชนทั้งหมดจะต้องมีส่วนร่วมในการสังเกตุการณ์ และ การวิเคราะห์ เพื่อทราบถึง ปัญหา ศักยภาพ ทรัพยากร และข้อจำกัด ของชุมชน
โดยปกติแล้วชุมชนและสมาชิกชุมชนมักจะไม่เข้าร่วมในการประเมินนี้โดยอัตโนมัติ และไม่ว่า จะเป็น พระราชกฤษฎีกา กฏหมาย คำชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือ คำแถลงการณ์ ใด ๆ ก็ไม่สามารถที่จะรับประกันได้ว่าทั้งชุมชนจะพร้อมใจที่จะมีส่วนร่วม
สมาชิกของชุมชนต้องการกำลังใจ ทักษะ การกระตุ้น และ คำแนะนำ เพื่อพร้อมที่จะเข้าร่วมในการวิเคราะห์ หรือการประเมิน หน้าที่ในการทำให้สมาชิกชุมชนเกิดความรู้สึกดังกล่าวข้างต้น นับเป็นหน้าที่ที่สำคัญที่สุดในบรรดาหน้าที่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น นักทำงานเพื่อชุมชน นักขับเคลื่อน หรือผู้ดูแลการดำเนินกิจกรรม
การช่วยให้เกิดการกระตุ้น และ การฝึกฝน
ตัวย่อ, PRA or
PAR.
การวางแผน
การวางแผนคือการคิดไตร่ตรองและหาหนทางเกี่ยวกับสิ่งที่เราจะทำต่อไปในอนาคต และ แผนการที่ดีจะต้องมีหลายขั้นตอน ที่จะค่อย ๆ นำเราจากสถานะการณ์ปัจจุบันไปจนถึงจุดที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ อ่านเพิ่มเติม
แผนงาน.
วิธีที่ใช้ได้ผลมากวิธีหนึ่ง ก็คือ "การคิดแบบถอยเวลากลับ" ซึ่งคือการที่เราเริ่มต้นการคิดจากจุดเป้าหมายที่เราต้องการ จากนั้นก็คิดย้อนกลับไปถึงขั้นตอนที่ควรจะทำก่อนที่จะมาถึงจุดเป้าหมายนี้ จากนั้นก็คิดย้อนกลับไปยังขั้นตอนก่อนหน้าขั้นตอนนั้นไปอีก และทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าเราจะย้อนขั้นตอนกลับมาถึงสถานะการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
การวิเคราะห์สถานะการณ์
"การวิเคราะห์สถานะการณ์" คือ การดำเนินขั้นตอนซึ่งลักษณะทั้งหมด และ ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนของชุมชนนั้นจะถูก บ่งชี้ อ่านเพิ่มเติม
PAR.
งานจองเราในฐานะนักขับเคลื่อนก็คือการพยายามทำให้สมาชิกทั้งหมด หรือเกือบทั้งหมดของชุมชน ได้เข้าร่วมในการสังเกตุการณ์ และการวิเคราะห์สถานะการณ์ของชุมชน
ความโปร่งใส
ความโปร่งใส เป็นองค์ประกอบที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งสำหรับชุมชนที่จะเป็นชุมชนที่เข้มแข๊ง (อ่านเพิ่มเติม
องค์ประกอบของ สิทธิและอำนาจ) คำว่า "โปร่งใส" หมายถึง คุณสมบัติของสิ่งหนึ่ง ๆ ที่ทำให้เราสามารถมองเห็นได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
อย่างเช่น หากมีข้าราชการที่ พยายามทำการบางอย่าง (เช่น การตัดสินใจ การจัดสรรทรัพยากร) โดยเก็บเป็นความลับ ปิดบังการกระทำของตนเองจากผู้อื่น นั่นแปลว่าบุคคลผู้นั้นไม่มีความโปร่งใส และ ปฏิบัติกับผู้อื่นโดยใช้วิธี
"เลี้ยงเห็ด"
การกระทำเช่นนี้ก่อให้เกิด ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ การขาดความกระตือรือร้น และ ความรู้สึกไร้ความสำคัญ (ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของ
ความยากจน และ ความอ่อนแอของชุมชน) หน้าที่ของนักขับเคลื่อนก็คือการส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส ซึ่งสามารถทำได้โดยการให้คำอธิบายว่าความโปร่งใสคืออะไร และ อธิบายเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ที่ประชาชนจะต้องรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง (การเพิ่มความตระหนักรู้).
นอกจากนั้นยังสามารถทำได้โดยการกล่าวถึงถึง แบบแผน หรือ การจัดระะบบใหม่ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการจัดการชุมชน, ตัวอย่างเช่น "กฎหมายเกี่ยวกับเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสาร" หรือกฎหมายอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ซึ่งจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าข้อมูลในการใช้จ่ายเงินของรัฐบาลจะต้องได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะ และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสของรัฐบาล ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่รัฐบางคนมีความพยายามที่ล้มกฎหมายในลักษณะนี้
หากเราแอบเก็บซ่อน ปกปิด หรือปฏิเสธปัญหา ก็เท่ากับว่าเราได้ขัดขวางไม่ให้พบวิธีแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน
แต่ถ้าหากเรา เปิดเผย ยอมรับ และ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นกลาง ก็แปลว่าเราก็ลังเดินมุ่งหน้าสู่การแก้ปัญหา และ มีพลังของความโปร่งใส
──»«──
If you find a word that needs discussing here, please
write.
หากคุณคัดลอกข้อความจากเว็บไซต์นี้ กรุณาระบุชื่อผู้เขียน และลิงค์กลับมาที่
www.cec.vcn.bc.ca
This site is hosted By the Vancouver Community Network
(VCN)
©สงวนลิขสิทธิ์ 1967, 1987, 2007: ฟิล บาร์เทิล ดีไซน์เวบโดย ลอร์ดซ ซาดา CSS การแปลงโดย Wai King Lung Matthew
──»«──อัพเดทครั้งล่าสุด:
2012.10.02
|